ความเคลื่อนไหวล่าสุด

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Watsrimongkol_Hinkling

วัดศรีมงคล บ้านหินกลิ้ง
เมืองหล่ม ซึ่งมีหลักฐานปรากฏในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า เมืองหล่มนี้ไม่ใช้เป็นเมืองที่ทางราชการตั้งขึ้นแต่เป็นเมืองที่เกิดขึ้นโดยประชาชนร่วมกันสร้าง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชารนุภาพและขุนวิจิตรมาตรา(จากหนังสือหลักไทยฉบับขุนวิจิตรมาตรา) สันนิษฐานว่า เดิมพื้นที่นี้เป็นที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองที่เรียกว่า “ลัวะ”  ต่อมาได้มีชนชาวไทยน้อยที่อาศัยอยู่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงที่เรียกกันว่าเมืองศรีสัตนาคนหุต (เมืองเวียงจันทร์)กลุ่มหนึ่ง อพยพมาหาหลักแหล่งทำมาหากิน และพบว่าพื้นที่ที่ชาวลัวะอาศัยอยู่มีทำเลดี เพราะเป็นที่ราบลุ่มล้อมรอบด้วยเทือกเขา มีลำน้ำพุงไหลผ่านเหมาะแก่การเพาะปลูก ชาวไทยเหล่านี้จึงได้จัดตั้งบ้านเรือนสร้างเมืองใหม่ขึ้นในพื้นที่บ้านหนองขี้ควาย(บ้านหินกลิ้งในปัจจุบัน)ได้ยกผู้นำในการอพยพมาเป็นเจ้าเมืองแต่ครั้งนั้นไม่ได้เรียกกันว่าเจ้าเมืองเรียกว่า”อุปฮาด”ตามแบบอย่างภาษาของชาวเมืองศรีสัตนาคนหุต อุปฮาดคนแรกชื่อว่า “เจ้าปู่เฒ่า”เจ้าปู่เฒ่าได้ตั้งจวนที่อาศัยบนริมฝั่งน้ำพุงด้านตะวันออก ได้สร้างวัดคู่เมืองขึ้นบนฝั่งน้ำพุงด้านตะวันออกปัจจุบันคือวัดศรีมงคล(วัดบ้านหินกลิ้ง)
    

1 ความคิดเห็น:

  1. เนื่องจากชาวไทยกลุ่มนี้เป็นผู้มีจิตศรัธทามั่งคงต่อพระพุทธศาสนาจากเมืองเดิมของตนคือเมืองศรีสัตนาคนหุต เมื่อมาสร้างบ้านตั้งเมืองขึ้นใหม่ก็ยังมีศรัธทาแก่กล้ามั่งคงในพระพุทธศาสนาเหมือนเดิมจึงพากันสร้างวัดเรียงรายริมฝั่งน้ำพุงเพื่อเป็นพุทธบูชาและส่วนรวมในการศึกษาอบรมจิตใจของทุกคน วัดที่ชาวไทยน้อยรุ่นแรกของเมืองหล่มสร้างขึ้นในครั้งนั้นนอกจากวัดศรีมงคลที่อุปฮาดเจ้าปู่เฒ่าสร้างคู่บ้านคู่เมืองก็ยังมีการสร้างวัดต่างๆที่ชาวไทยน้อยร่วมกันสร้างก็มี ๑.วัดป่าหรือวัดไชโย วัดนี้ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำพุงด้านเดียวกับวัดศรีมงคลมาตอนใต้ห่างกันประมาณ ๒๐๐ เมตร ปัจจุบันเป็นวัดร้างแต่ยังมีหลักฐานคือพระประธานสร้างด้วยอิฐหรือปูนปรากฏอยู่ ๒.วัดจอมแจ้ง วัดนี้ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำพุงด้านเดียวกับจวนอุปฮาดลงมาทางใต้ห่างกันประมาณ ๑ กม. ๓. วัดตาลตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำพุงด้านเดียวกับวัดป่าห่างกันประมาณ ๑๕๐ เมตร วัดนี้มีพระพุทธรูปปั้นองค์ใหญ่เป็นที่สักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไปถือว่าเป็นพระประจำเมืองหล่มที่ศักดิ์สิทธิ์มากปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหารที่สร้างขึ้นใหม่ ๔.วัดกู่แก้ว วัดนี้ตั้งอยู่บนฝั่งน้ำพุงด้านเดียวกับวัดตาลห่างกันประมาณ ๓๐๐ เมตร ปัจจุบันเป็นวัดร้างทางราชการได้ใช้เป็นที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหล่มเก่า

    ตอบลบ