ความเคลื่อนไหวล่าสุด

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ที่ตั้งของวัดศรีมงคล ในปัจจุบัน


           อุปฮาดต่อมาจากเจ้าปู่เฒ่าที่พอทราบชื่อจากคำบอกเล่าคือ อุปฮาดเจ้าหนองขาม,อุปฮาดเจ้าอานนท์อุปฮาดเจ้าคุกในสมัยอุปฮาดเจ้าคุกได้ย้ายจวนจากบ้านหนองขี้ควาย(บ้านหินกลิ้ง)มาตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำพุงด้านทิศตะวันออกในพื้นที่ที่อยู่กลางวัดทั้งสองวัดคือวัดตาลกับวัดกู่แก้ว ณ จวนอุปฮาดบ้านกลางนี้อุปฮาดท่านนี้ต่อมาเสียชีวิตในระหว่างนอนหลับ ประชาชนจึงพากันเรียกท่านว่า “อุปฮาดเจ้านอนตาย” หลักฐานที่พอจะเชื่อถือได้ในช่วงระยะเวลาต่อมาจากอุปฮาดเจ้านอนตายจนถึงก่อนปี พ.ศ.๒๓๗๐ไม่มี ทั้งนี้เพราะจากคำบอกเล่าที่สืบต่อมายังไม่กระจ่างนักทั้งเอกสารต่างๆ ก็มิได้บันทึกไว้ ครั้งหนึ่งพระยาสุริยะวงศาฯได้กลับจากธุระที่เมืองหลวง(กรุงเทพ)ได้เดินทางเรียบตามลำน้ำสักจากสระบุรีเรื่อยมา ก่อนจะถึงเมืองหล่มได้ผ่านหมู่บ้านหมู่หนึ่งคือหมู่บ้านท่ากกโพธิ์ ซึ่งคนอาศัยอยู่ประปรายบ้านท่ากกโพธิ์อยู่ด้านทิศเหนือของเมืองหล่ม พระยาสุริยะวงศาฯ ได้พิจารณาเห็นว่าพื้นที่บ้านท่ากกโพธิ์เป็นที่อุดมสมบูรณ์มีชัยภูมิเหมาะที่จะเป็นเมืองอย่างยิ่ง จึงได้ตัดสินใจย้ายเมืองหลวงลงมาสร้างขึ้นใหม่ที่เมืองท่ากกโพธิ์ตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแควแม่น้ำสักและได้สร้างจวนเจ้าเมืองขึ้นที่สวนฝ้ายตาโปรงเหล่งส่วนจวนเจ้าเมืองเก่าได้จัดสร้างเป็นวัดเรียกว่าวัดกลาง ปัจจุบันคือวัดศรีสุมังค์ และพระยาศรีสุริยวงศาฯได้เรียกเมืองใหม่ที่ตั้งขึ้นว่าเมือง”หล่มสัก”เพราะตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำป่าสัก...

Watsrimongkol_Hinkling

วัดศรีมงคล บ้านหินกลิ้ง
เมืองหล่ม ซึ่งมีหลักฐานปรากฏในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า เมืองหล่มนี้ไม่ใช้เป็นเมืองที่ทางราชการตั้งขึ้นแต่เป็นเมืองที่เกิดขึ้นโดยประชาชนร่วมกันสร้าง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชารนุภาพและขุนวิจิตรมาตรา(จากหนังสือหลักไทยฉบับขุนวิจิตรมาตรา) สันนิษฐานว่า เดิมพื้นที่นี้เป็นที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองที่เรียกว่า “ลัวะ”  ต่อมาได้มีชนชาวไทยน้อยที่อาศัยอยู่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงที่เรียกกันว่าเมืองศรีสัตนาคนหุต (เมืองเวียงจันทร์)กลุ่มหนึ่ง อพยพมาหาหลักแหล่งทำมาหากิน และพบว่าพื้นที่ที่ชาวลัวะอาศัยอยู่มีทำเลดี เพราะเป็นที่ราบลุ่มล้อมรอบด้วยเทือกเขา มีลำน้ำพุงไหลผ่านเหมาะแก่การเพาะปลูก ชาวไทยเหล่านี้จึงได้จัดตั้งบ้านเรือนสร้างเมืองใหม่ขึ้นในพื้นที่บ้านหนองขี้ควาย(บ้านหินกลิ้งในปัจจุบัน)ได้ยกผู้นำในการอพยพมาเป็นเจ้าเมืองแต่ครั้งนั้นไม่ได้เรียกกันว่าเจ้าเมืองเรียกว่า”อุปฮาด”ตามแบบอย่างภาษาของชาวเมืองศรีสัตนาคนหุต อุปฮาดคนแรกชื่อว่า “เจ้าปู่เฒ่า”เจ้าปู่เฒ่าได้ตั้งจวนที่อาศัยบนริมฝั่งน้ำพุงด้านตะวันออก ได้สร้างวัดคู่เมืองขึ้นบนฝั่งน้ำพุงด้านตะวันออกปัจจุบันคือวัดศรีมงคล(วัดบ้านหินกลิ้ง)