ความเคลื่อนไหวล่าสุด

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ข่าวการสร้างและบูรณะศาสนะสถาน

หลังจากที่เสร็จการการ ปลูกข้าว ดำนา กันแล้ว งานก่อสร้างก็ได้เริ่มกัีนต่อได้


งานก่ออิฐ ก็พร้อม เดินเรื่อยๆ
งานที่สูง ต้องม่2-3 คน ในการเดินงาน
1 อยู่ข้างล่าง คอย คนปูน ส่งปูน ส่งอิฐ
อยู่บน 2 คน คอยรับของ ประสานงานระหว่าง
บน กับล่าง
งานจึงโหลด มาก ...




ข้างบน ก็ปิดทองหน้าพรหม ขั้นตอน ต้องขึ้นไป ทาเฟรกไว้ ตอนเช้า รอประมาณ 1 ช.ม. ก็ได้เวลาปิดทอง ต้องกะเวลาให้พอดี ไม่แห้งเกิน ไม่เหนียงเกิน และไม่แห้งเร็ว...









ภายในอุโบสถ ก็บูรณะพระประธาน
งานเิดินพร้อมกัน










หลังวัด ริมห้วยด้านตะวันตก ก็สร้าง ห้องปลดทุกข์ใหม่ ...

ที่ปลดทุกข์

ที่ปลดทุกข์ เดิมจากที่เก่า ที่ทรุดโทรม มาก เป็นเหตุใ้ห้ห้อง สุขา ไม่เพียงพอกับญาติโยม ในนามที่มีงานบุญงานกุศล ทางวัดจึงเห็นควรที่จะทำการ จัดสร้างใหม่ เพื่อที่จะได้รองรับสาธุชนทุกท่าน ที่แวะเวียนเข้ามาที่วัด ตลอดเวลา ..
นี่เป็นสภาพห้อง ปลดทุกข์ ที่ชำรุดมาก ที่เหลืออยู่ครึ่งเดียว อีกครึ่งหลังคาผุ กร่อนมาก จึงได้พังลงมาในยามที่ฝนตกหนัก...









สร้างใหม่ เกือบเสร็จแล้ว อีก 10 % เท่านั้น
..กำลังเร่ง ติดหินกาบอยู่ หินได้รับคุณ sunny นำมาถวาย เพื่อเป็นกุศลแก่ตยเองและครอบครัว.









เสร็จสมบูรณ์แล้ว พร้อมด้วยต้นไม้ ทำบังตาหน่อยๆ

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ห้องปลดทุกข์

เป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้ว กับ ห้องปลดทุกข์ สะอาด
สะดวก สะบาย ให้บริการกับญาติโยมทุกท่าน..
เมื่อกฐินที่ผ่านมา โยมชมว่า สะอาดมาก
ทางวัดก็ขอบคุณ และโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่มาร่วมทอด กฐิน ประจำปี 2553

การบูรณะพระประธาน


ข่าวการสร้าง และการบูรณะศาสนะสถาน ตอนนี้ได้ทำการบูรณะ ปฏิสังขร พระประธานในโบสถ์ เนื่องจากได้ทาสีภายในพระอุโบสถใหม่ แล้วทำให้พระประธาน(หลวงพ่อใหญ่) ในบสถ์ดูเศร้าหมองไป จึงได้พิจารณาบูรณะหลวงพ่อใหญ่ไปด้วย โดยการปิดแผ่นทองคำเกรดดี และก็ได้มีญาติโยมที่มีจิตศรีทธาร่วมบริจาคทรัพย์บางส่วนมาร่วมสร้าง ศูนย์รวมแห่งศรีทธาในพระพุทธศาสนาเพื่อสืบต่อไว้ให้คงอยู่จนถึงลูกหลานต่อไปอีกนาน.


นี่เป็นภาพหลวงพ่อใหญ่ในปัจจุบัน ดูพุทธลักษณะอาจจะดูไม่คุ้นเคยตานัก พื้นผิวตอนนี้ แตก พอง ผุ กรอน ทั่วทั้งองค์ สีทองเริ่มหมองลง จึงเห็นควรแล้วที่จะได้ทำการบูรณะอีกครั้ง


หลังจากที่ได้ทำการเปิดผิวทองเดิมออก ก็ปรากฏว่า ได้มีการบูรณะมาแล้วก่อนหน้านี้ นานแล้ว และช่างที่บูรณะพระประธานชุดก่อนก็ไม่ได้ทำการ รักษา พุทธลักษณะเดิมไว้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลประการใด ก็ได้ทำให้หลวงพ่อใหญ่องค์เดิมเปลี่ยนไป
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จึงพิจารณาว่า การบูรณะ ควรจะคงไว้ซึ่งพุทธลักษณะเดิมไว้ให้มากที่สุด ..การบูรณะครั้งก่อน จึงไม่ถูกต้องนัก จึงเห็นควรแล้วที่จะเปิดผิวทองที่ปิดทับ พระประธานเพื่อให้เห็น หลวงพ่อใหญ่ องค์เก่า .แบบดั้งเดิม




จะเห็นว่า แม้แต่ดวงตาเองก็ไม่ได้อยู่ในแนวเดิมแล้ว
เปิดผิวทองจนได้รูปแบบ หรือพุทธลักษณะเดิมของ หลวงพ่อใหญ่ แล้วทำการซ่อมผิวต่อไป
ผ่านไปแล้วกับการเปิดผิวทอง 
จากนั้นก็ เริ่มทำการซ่อมผิวด้วย ปูนก่ิอน แล้วจึงค่อย แต่งเรียบด้วย เคมี..ติดตามตอนต่อไปนะครับ ขอตัวไปทำงานต่อ
ทำการโป้ว ผิว ด้วยเคมีฯ เพื่อความแข็งแรง
และทนทาน นานกว่าเดิม
หลังจากที่ เตรียมผิวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการ ลงเฟรกดำ เพื่อเตรียมสีก่อนปิดทอง อีกครั้ง
 เมื่่อเตรียมสีเฟรกดำ เต็มองค์แล้ว ก็เริ่มปิดทองคำ จากบน ลง ล่าง เป็นการต่อไป..จากนั้นก็ลง เฟรกเหลือง ก่อนทำการปิดทอง 1-2 ครั้ง 
เมื่อเฟรกเหลือง แห้ง ก็เริ่มปิดทองจากส่วนบนก่อนแล้วไล่ลงมาตามส่วนต่างๆ ตามลำดับ

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ฟังธรรมเทศนา

วันที่ 10 สิงหาคม 2553 เป็นวันพระ หลังจากที่ทำกิจกรรมประจำเสร็จแล้ว เป็นโอกาศดีที่นิมนต์พระผู้ใหญ่ มาบรรยาย ธรรมเทศนาให้ ผู้ที่ถือศีล ๘ ได้รับฟังกััน..



 หากเราไปฟัง คำ ตำหนิ ติ ฉิน นินทาเรา ว่าเข้าวัดเข้าวา ทั้งที่ยังไม่ทันแก่..ดูแล้วไม่เหมาะ เพราะใจมันยังฟุ้งซ่าน..เราคงเป็นโค กระบือ ให้เขาลากจูง
เมื่อยังมีแรง และสติดี อยู่ ทำอะไรๆได้ไม่ลำบากผู้อื่น  จะรอให้แก่ทำมัย ถึงจะเข้าวัด..คนเราเข้าวัดเพราะแสวงหาดวงธรรม..และปัญญา..
ส่วนอย่างอื่น..อยู่นอกวัดมีถมไป..

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ภาพจำลอง ในปัจจุบัน







เนื่องจากทางวัดต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบพระธาตุในบางส่วน เพื่อให้มีความเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะถิ่น และคงความเป็นพระธาตุหินกลิ้งไว้ให้มากที่สุด ...

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ที่ตั้งของวัดศรีมงคล ในปัจจุบัน


           อุปฮาดต่อมาจากเจ้าปู่เฒ่าที่พอทราบชื่อจากคำบอกเล่าคือ อุปฮาดเจ้าหนองขาม,อุปฮาดเจ้าอานนท์อุปฮาดเจ้าคุกในสมัยอุปฮาดเจ้าคุกได้ย้ายจวนจากบ้านหนองขี้ควาย(บ้านหินกลิ้ง)มาตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำพุงด้านทิศตะวันออกในพื้นที่ที่อยู่กลางวัดทั้งสองวัดคือวัดตาลกับวัดกู่แก้ว ณ จวนอุปฮาดบ้านกลางนี้อุปฮาดท่านนี้ต่อมาเสียชีวิตในระหว่างนอนหลับ ประชาชนจึงพากันเรียกท่านว่า “อุปฮาดเจ้านอนตาย” หลักฐานที่พอจะเชื่อถือได้ในช่วงระยะเวลาต่อมาจากอุปฮาดเจ้านอนตายจนถึงก่อนปี พ.ศ.๒๓๗๐ไม่มี ทั้งนี้เพราะจากคำบอกเล่าที่สืบต่อมายังไม่กระจ่างนักทั้งเอกสารต่างๆ ก็มิได้บันทึกไว้ ครั้งหนึ่งพระยาสุริยะวงศาฯได้กลับจากธุระที่เมืองหลวง(กรุงเทพ)ได้เดินทางเรียบตามลำน้ำสักจากสระบุรีเรื่อยมา ก่อนจะถึงเมืองหล่มได้ผ่านหมู่บ้านหมู่หนึ่งคือหมู่บ้านท่ากกโพธิ์ ซึ่งคนอาศัยอยู่ประปรายบ้านท่ากกโพธิ์อยู่ด้านทิศเหนือของเมืองหล่ม พระยาสุริยะวงศาฯ ได้พิจารณาเห็นว่าพื้นที่บ้านท่ากกโพธิ์เป็นที่อุดมสมบูรณ์มีชัยภูมิเหมาะที่จะเป็นเมืองอย่างยิ่ง จึงได้ตัดสินใจย้ายเมืองหลวงลงมาสร้างขึ้นใหม่ที่เมืองท่ากกโพธิ์ตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแควแม่น้ำสักและได้สร้างจวนเจ้าเมืองขึ้นที่สวนฝ้ายตาโปรงเหล่งส่วนจวนเจ้าเมืองเก่าได้จัดสร้างเป็นวัดเรียกว่าวัดกลาง ปัจจุบันคือวัดศรีสุมังค์ และพระยาศรีสุริยวงศาฯได้เรียกเมืองใหม่ที่ตั้งขึ้นว่าเมือง”หล่มสัก”เพราะตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำป่าสัก...

Watsrimongkol_Hinkling

วัดศรีมงคล บ้านหินกลิ้ง
เมืองหล่ม ซึ่งมีหลักฐานปรากฏในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า เมืองหล่มนี้ไม่ใช้เป็นเมืองที่ทางราชการตั้งขึ้นแต่เป็นเมืองที่เกิดขึ้นโดยประชาชนร่วมกันสร้าง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชารนุภาพและขุนวิจิตรมาตรา(จากหนังสือหลักไทยฉบับขุนวิจิตรมาตรา) สันนิษฐานว่า เดิมพื้นที่นี้เป็นที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองที่เรียกว่า “ลัวะ”  ต่อมาได้มีชนชาวไทยน้อยที่อาศัยอยู่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงที่เรียกกันว่าเมืองศรีสัตนาคนหุต (เมืองเวียงจันทร์)กลุ่มหนึ่ง อพยพมาหาหลักแหล่งทำมาหากิน และพบว่าพื้นที่ที่ชาวลัวะอาศัยอยู่มีทำเลดี เพราะเป็นที่ราบลุ่มล้อมรอบด้วยเทือกเขา มีลำน้ำพุงไหลผ่านเหมาะแก่การเพาะปลูก ชาวไทยเหล่านี้จึงได้จัดตั้งบ้านเรือนสร้างเมืองใหม่ขึ้นในพื้นที่บ้านหนองขี้ควาย(บ้านหินกลิ้งในปัจจุบัน)ได้ยกผู้นำในการอพยพมาเป็นเจ้าเมืองแต่ครั้งนั้นไม่ได้เรียกกันว่าเจ้าเมืองเรียกว่า”อุปฮาด”ตามแบบอย่างภาษาของชาวเมืองศรีสัตนาคนหุต อุปฮาดคนแรกชื่อว่า “เจ้าปู่เฒ่า”เจ้าปู่เฒ่าได้ตั้งจวนที่อาศัยบนริมฝั่งน้ำพุงด้านตะวันออก ได้สร้างวัดคู่เมืองขึ้นบนฝั่งน้ำพุงด้านตะวันออกปัจจุบันคือวัดศรีมงคล(วัดบ้านหินกลิ้ง)